• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับ CLASS FORECAST
    • ความเป็นมาและวัตถุประสงค์การก่อตั้ง
    • ปรัชญา วิสัยทัศน์ และพันธกิจ
    • โครงสร้างองค์กร
    • บุคลากร
  • บริการ
    • บริการของ CLASS FORECAST
      • ทดสอบสินค้าเกษตรและอาหาร
      • วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านเกษตรและอาหาร
      • บริการวิชาการ ฝึกอบรมและให้คำปรึกษา
      • โรงงานอาหารต้นแบบและระบบคุณภาพอาหาร
    • อัตราค่าบริการ
    • ขอรับบริการ
  • กิจกรรม
  • ข่าวประชาสัมพันธ์
  • ติดต่อเรา

ภาพกิจกรรม

  1. หน้าหลัก
  2. ภาพกิจกรรม

Classforecast จัดประชุมชี้แจงโครงการจัดทำระบบควบคุมคุณภาพและมาตรฐานสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย (Internal Control) สินค้าทุเรียนหมอนทองเขาบรรทัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568


ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมสินค้าเกษตรและอาหาร ภาคตะวันออก คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จัดประชุมชี้แจงโครงการจัดทำระบบควบคุมคุณภาพและมาตรฐานสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย มีผู้เข้าร่วมทั้งหมด 130 คน โดยประกอบไปด้วยผู้ประกอบการค้า/ผู้ผลิต จำนวน 103 คน และคณะกรรมการผู้มีหน้าที่ ตรวจสอบสินค้า GI ผู้แทนจากสำนักงานพาณิชย์จังหวัด ผู้แทนจากสำนักงานเกษตรจังหวัด หรือหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง จำนวน 27 คน

สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication: GI) คือ การใช้ชื่อหรือสัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับสถานที่หรือแหล่งที่มาของสินค้า เพื่อระบุหรือบ่งชี้ว่าสินค้านั้นมีลักษณะเฉพาะที่ได้รับอิทธิพลจากภูมิศาสตร์ (ทั้งจากภูมิภาค, สถานที่ หรือพื้นที่ทางภูมิศาสตร์) สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่ขึ้นทะเบียนแล้ว จะต้องจัดให้มีระบบการควบคุมคุณภาพ กระบวนการผลิต และแหล่งที่มาของสินค้า เพื่อให้ผู้ผลิตสามารถรักษามาตรฐานตามที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมทรัพย์สินทางปัญญา และเป็นมาตรฐานที่ยอมรับได้ในระดับสากล โดยชุมชนท้องถิ่นนั้น ๆ ร่วมกันจัดทำระบบควบคุมภายใน (Internal control) ในระดับผู้ผลิตและระดับพื้นที่ทั้งกระบวนการผลิตที่รับรองได้ว่า การผลิตสินค้าเป็นไปตามข้อกำหนดที่ขึ้นทะเบียนไว้ และสามารถตรวจสอบย้อนกลับ (traceability) ถึงแหล่งที่มาของสินค้าได้ ตั้งแต่ต้นน้ำ คือ การเตรียมวัตถุดิบ จนถึงปลายน้ำ คือ การจัดจำหน่ายเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อคนในชุมชนในการใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์เป็นเครื่องมือในการพัฒนาท้องถิ่น และเป็นเครื่องมือทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพ ให้สามารถยกระดับสินค้าจากท้องถิ่นออกสู่ระดับประเทศและต่างประเทศ

          ทุเรียนเขาบรรทัด อยู่บริเวณแนวเทือกเขาบรรทัด ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ ลักษณะดินเป็นดินร่วน ระบายน้ำได้ดี ด้วยสภาพภูมิประเทศที่เหมาะสม ประกอบกับได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมอย่างเต็มที่ ส่งผลให้ความชื้นในอากาศลดลงเร็วกว่าปกติทำให้เรียนเกิดอาการเครียดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ จึงเกิดการกระตุ้นให้ต้นทุเรียนออกดอกได้เร็วขึ้น ส่งผลทำให้สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ก่อนพื้นที่อื่น

เพื่อให้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของทุเรียนหมอนทองในพื้นที่ดังกล่าว จังหวัดตราดได้ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ทุเรียนหมอนทองเขาบรรทัด ตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564 คำขอเลขที่ 6410026 ทะเบียนเลขที่ สช 67100225 ผู้ที่ยื่นขอ นายเรือง ศรีนาราง ทุเรียนหมอนทองเขาบรรทัดที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งบงชี้ทางภูมิศาสตร์ได้กำหนดมาตรฐานไว้คือ เป็นทุเรียนพันธุ์หมอนทอง เปลือกผิวสีเขียวปนน้ำตาลปลายหนามแข็งแรงและแหลมคม เนื้อทุเรียนสีเหลืองอ่อน หนา มีรสชาติหวาน มัน มีพื้นที่ปลูกในเขตพื้นที่ 5 อำเภอของจังหวัดตราด ได้แก่ อำเภอเมืองตราด อำเภอคลองใหญ่ อำเภอบ่อไร่ อำเภอแหลมงอบ และอำเภอเขาสมิง

เพื่อป้องกันการแอบอ้างนำทุเรียนพันธุ์อื่นมาแอบขายเป็นทุเรียนหมอนทองเขาบรรทัดจึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่ต้อง นำทุเรียนหมอนทองเขาบรรทัดไปขึ้นทะเบียน สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical indication, GI) ที่กรมทรัพย์สินทาง ปัญญาเป็นผู้ดำเนินการให้ GI หมายถึง การใช้ชื่อสถานที่ในท้อถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งของประเทศสมาชิกประกอบกับสินค้าเพื่อแสดงให้ผู้ซื้อหรือผู้บริโภคได้ทราบถึงแหล่งที่มาของสินค้าว่าคุณภาพ ชื่อเสียง หรือลักษณะอื่น ของสินค้ามีส่วนสำคัญมาจากแหล่งกำเนิดทางภูมิศาสตร์ของสินค้านั้น เพื่อป้องกันมิให้มีการนำสินค้าจาก แหล่งภูมิศาสตร์อื่น นอกเหนือจากแหล่งภูมิศาสตร์ที่แท้จริงไปใช้ในลักษณะที่ทำให้สาธารณชนสับสน เกี่ยวกับแหล่งกำเนิดทางภูมิศาสตร์ของสินค้า หรือก่อให้เกิดการกระทำที่เป็นการแข่งขันไม่เป็นธรรม ผลจาก GI จะทำให้เกิดระบบการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งผู้บริโภคจะได้รับสินค้าตรงตามความต้องการ และมีการรักษามาตรฐาน ป้องกันการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม เนื่องจากผู้ประกอบการไม่สามารถนำเองชื่อเสียงของคู่แข่งทางการค้าไปแอบอ้าง รวมถึงเป็นการเพิ่มมูลค่าของสินค้าและเป็นเครื่องมือทางการค้าเชื่อว่าการระบุ GI ทำให้สินค้าดังกล่าวมีลักษณะพิเศษจากสินค้าจากแหล่งอื่น ๆ มีราคาที่สูงขึ้น จำหน่ายได้มากขึ้นด้วย เหนือสิ่งอื่นใดคือมีความคุ้มครองตามกฎหมาย การแอบอ้างถือเป็นความผิดทางกฎหมายในทันที ทั้งนี้หนังสือ อนุญาตให้ใช้ตราสัญลักษณ์ GI ไทย มีอายุ ๒ ปี ซึ่งเมื่อใกล้กำหนด ๒ ปี จะต้องมีการดำเนินการซ้ำในขั้นตอน ของการสมัครขอเข้าร่วม



สถานที่ตั้ง

หลักสูตรนวัตกรรมและเทคโนโลยีการอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร (อาคาร 21)
มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี เลขที่ 41 ม.5 ถ.รักศักดิ์ชมูล ต.ท่าช้าง อ.เมือง จ.จันทบุรี 22000
Phone : 061-660-5306
Mail : classforecast@rbru.ac.th
Facebook : Food Inno RBRU : Class Forecast
Line : foodRBRU

บริการของเรา

  • ทดสอบสินค้า
  • วิจัยและพัฒนา
  • บริการวิชาการ
  • โรงงานอาหารต้นแบบ

สังคมออนไลน์

Phone, Facebook, Line


สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์
free counters
© Copyright 2020 ClassForecast. All Rights Reserved
Designed by ClassForecast Admin